27/04/2024

1ปีที่ร่วม RCEP…ไทยได้อะไรบ้าง

 

โดย……..ดร.ธารากร วุฒิสถิรกูล      นายก สมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหม ไทย-จีน

 

RCEP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership)เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก  ข้อตกลง RCEP ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานการค้าเสรีที่มีอยู่ 5 ฉบับระหว่างอาเซียน-จีน  อาเซียน-ญี่ปุ่น  อาเซียน-เกาหลีใต้ และอาเซียน-อินเดีย มุ่งพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจระดับประเทศ Asia-Pacific คือความหวังของเศรษฐกิจโลก RCEP เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลก (Global Supply Chain) ครอบคลุมทุกมิติ

ประเทศไทยก็เป็นจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นโอกาส ซึ่งมีความสำคัญต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย  ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่เน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (new S-curve) จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น จึงเชื่อมั่นว่า RCEP จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ การสามารถก้าวออกจากประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)

การได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดของประเทศสมาชิก RCEP มากกว่าการเข้าถึงตลาดทวิภาคี การลดอัตราภาษีซึ่งกันและกันเป็นประโยชน์ต่อโอกาสทางการค้าสำหรับสินค้าและบริการของไทย  รวมถึงการลงทุนเพิ่มเติม การเกิดเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ (FTA) จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEsและเกษตรกรไทย

 

 

อย่างไรก็ตามภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องปรับทั้งกลยุทธ์และแผนการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  เพราะRCEP เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายซึ่งเริ่มส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมของไทย   RCEP จะเป็นตลาดเสรีทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมบริการรุนแรงขึ้น  โดยเฉพาะภาคการเงินจะถูกกดดันให้ลดระดับการคุ้มครองทางกฎหมาย  กฎระเบียบมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น บริการทางการเงินจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของแรงงานและเงินทุนมากขึ้น

RCEP  เริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2565 ครบหนึ่งปีเต็ม  ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง RCEP อาทิ สมาชิก RCEP ยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางที่เชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย มีความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการผลิต การค้า การส่งออก และการขนส่งของประเทศอาเซียน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วและเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในอาเซียน การเชื่อมโยงอาเซียนกับโลก (global supply chain) และประเทศไทยมีโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 4.0 โดยเน้นการลงทุนใน 10 คู่อุตสาหกรรมในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก  เศรษฐกิจมีเป้าหมายมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะ 5 อุตสาหกรรมเกิดใหม่ (new S-curve) หาก RCEP สำเร็จ จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น เช่น นักลงทุนรายใหม่เข้ามาในประเทศไทย เป็นฐานการผลิตและส่งออก  ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

 

 

ดังนั้นในแง่ของโอกาสและผลกระทบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคเศรษฐกิจทั้งหมดจะเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบการแข่งขันที่ใกล้เข้ามา เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจไทยไปพร้อมกัน เป้าหมายคือการทำให้ RCEP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูง บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันอย่างรอบด้าน รองรับการขยายตัวของการค้าและการลงทุนในระดับภูมิภาค และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน เป็นระบบการค้าเสรีที่มีทั้งหมด 16 ประเทศ ใช้กฎระเบียบเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลกได้ครอบคลุมทุกมิติการค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านสินค้า บริการ การลงทุน มาตรการการค้าเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับเครือข่ายความร่วมมือด้านการผลิตทางเศรษฐกิจ ให้การค้า การลงทุนสอดคล้องและสะดวกยิ่งขึ้นต่อไป

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *