ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20

ดร.ธารากร วุฒิสถิรกูล
รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทยจีน
เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองจีนมาถึงแล้ว
การประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะจัดขึ้นทุก 5 ปี สำหรับปีนี้เป็นครั้งที่ 20 (20th CPC – Communist Party of China National Congress) เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2565 นับเป็นครั้งสำคัญอีกวาระหนึ่ง เพราะมีการกำหนดนโยบายระดับบริหารและแนวทางการจัด
พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะดำเนินการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับสภาพการณ์ระหว่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงทบทวนผลงานตลอดที่ผ่านมาและเดินหน้าผลักดันนโยบายสร้างความรุ่งเรืองโดยเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นนโยบายของประธานธิบดีสี จิ้น ผิง ที่ต้องการขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่งคั่งในประเทศ
ความคิดริเริ่มนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ในแวดวงการศึกษา เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การค้า สร้างความตื่นตัวให้ประชาชนนำพาจีนเข้าสู่สังคมพูนสุข แม้จะต้องเผชิญกับกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจีนอย่างเป็นรูปธรรม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาบริหารประเทศจีนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นแนวคิดเกี่ยวข้องกับหลักคิดเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศจีน ซึ่งได้อธิบายถึงแนวความคิดในการพัฒนาประเทศชาติและและเจตนารมณ์ของชาวจีนที่มีต่อการพัฒนาประเทศ โดยได้อธิบายถึงเป้าหมายของการพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะมีความต้องการเป็นพิเศษในการอธิบายให้ทั่วโลกได้เข้าใจว่า นิยามศัพท์ “สังคมนิยมที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของประเทศจีน ความฝันของประเทศจีน สังคมพูนสุขของจีน” ได้ถูกต้อง
อีกทั้งยังเป็นการเปิดช่องทางที่สำคัญในการช่วยให้ประชาชนชาวไทยสามารถเข้าถึงและเข้าใจประเทศจีนมากขึ้น ด้วยมุมมองในสายตาของผู้นำสูงสุดของประเทศจีน อันจะเกิดความเข้าใจในประเด็นหลักคิดการพัฒนาประเทศชาติและประสบการณ์ในการบริหารการปกครองของประเทศจีน รวมถึงกระบวนการของการพัฒนาประเทศและผลสำเร็จที่เกิดขึ้น อันช่วยส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงสอดประสานระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้น นำไปสู่การร่วมมือกันในเชิงลึกในอีกระดับชั้น ฯลฯ
ขณะเดียวกันยังได้สะท้อนให้ทั่วโลกได้มองเห็นถึงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวจีนที่มุ่งสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ความเพียรพยายามเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความสงบสุข มีเสถียรภาพและมั่งคั่งแข็งแกร่ง จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ
การประชุมครั้งนี้จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ในทุกภาคส่วนทุกวงการและทุกมิติ เพื่อสร้างคุณูปการในการสร้างสรรค์ประชาคมร่วมชะตากรรมแห่งมวลมนุษยชาติสู่ความสำเร็จ โดยตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน มากด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพได้ประสบความสำเร็จและยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ตามแนวทางความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั้งห้าด้าน อันประกอบด้วยการเชื่อมโยงด้านนโยบายภาครัฐ เชื่อมสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน เชื่อมโยงการค้า เชื่อมโยงภาคการเงินและเชื่อมใจประชาชน
อันเป็นการส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนสามารถพัฒนาไปสู่ลักษณะที่เกื้อกูลผลประโยชน์และร่วมสร้างร่วมแบ่งปัน ซึ่งกันและกัน ร่วมกันพัฒนาทุนมนุษย์ การพัฒนาเศรษฐกิจการค้า การศึกษา เทคโนโลยี อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy BCG) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์ถึงท้องถิ่นและด้านต่างๆ
หลัง Covid-19 ในยุค New Normal ประเทศไทยมีโอกาสจะร่วมมือกับประเทศจีนในข้างหน้าอย่างไร เราต้องช่วยกันคิดทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ สร้างมาตรฐาน กฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบเศรษกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมต่างๆ วางเป้าหมายการขับเคลื่อน สร้างกลไกลขับเคลื่อนมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
การยกระดับความสัมพันธ์ของสองประเทนั้นต้องอาศัยยุทธศาสตร์กับยุทธวิธี ไทย-จีนมีทั้งยุทธศาสตร์ระดับชาติ ระดับมณฑลและระดับท้องถิ่น ด้วยวิธีการที่หลากหลายทิศทางหลายมิติ ดังนั้นหนึ่งเป้าหมายจึงมีหลายวิธีการและหลากหลายเครื่องมือ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างไทย-จีน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและสันติภาคของภูมิภาคนี้