27/04/2024

คอลัมน์ Booklizm by Krit

1.เรื่อง : 1984 หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่

ผู้เขียน : จอร์จ ออร์เวลล์ GEORGE ORWELL

ผู้แปล : รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพันธ์เผ่าพงศ์

สำนักพิมพ์ : สมมติ

 

“1984” เป็นวรรณกรรมที่คลาสสิกในแง่เนื้อหาและโครงเรื่องและลีลาการประพันธ์ที่ทั่วโลกยอมรับว่ามีความโดดเด่นเข้มข้นจริงจัง รวมทั้งมีสีสันสำนวนการเขียนเสียดสีการปกครองอย่างสุดขีด สร้างภาษาใหม่ด้วยการเล่นคำแบบ”นิวสปีค” อย่างมีนัยยะ!!!

“1984” เป็นบันเทิงคดีการเมืองที่ดำเนินเรื่องภายใต้การสอดแทรกเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ด้วยนวัตกรรมแปลกใหม่เช่นจอโทรภาพที่สามารถรับและส่งข้อมูลภาพเสียงได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องเขียนตามคำบอก เครื่องประพันธ์ร้อยกรอง และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมายในการแก้ไขบิดเบือนความจริง รวมทั้งเครื่องมือในการทรมานนักโทษด้วย อย่างไรก็ดีแม้ในยุค 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ จะเจริญทางเทคโนโลยี​ หากทว่าความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่กลับล้าหลัง สกปรก อัตคัด แร้นแค้น มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน ผู้ใต้ปกครองจะถูกกดทับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทุกประการ ไม่ว่าความคิดอ่านการรับรู้ การแสดงความคิดเห็น​ แม้กระทั่งการร่วมกิจกรรมทางเพศ..!!!

ก่อนการตีพิมพ์ครั้งแรกค.ศ.1949 หนังสือจะใช้ชื่อ The Last Man in Europe แต่ผู้เขียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น”1984″ เพื่อให้ฟังดูน่าสงสัยและน่าติดตาม..!!

“สิ่งที่ออร์เวลล์ได้บอกกล่าวแก่เราก็คือคำศัพท์ทางการเมืองทุกคำมีความหมายสองด้านในตัวเอง หนึ่งคือความหมายตามพจนานุกรม​ และสองคือความหมายที่อยู่ ตรงข้าม กับ ความหมายที่มันควรจะเป็น” (โนม ชอมสกี คำนิยม)​..!!

ท้ายสุดขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของคุณอำนวยชัย ปฏิพันธ์เผ่าพงศ์ ผู้ร่วมแปล”1984″ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่

 

2.เรื่อง : คิงแร็ท KING RAT

ผู้เขียน : เจมส์ คลาเวลล์ JAMES CLAVELL

แปล : สุวิทย์ ขาว​ปลอด

สำนักพิมพ์ : รีดเดอร์

 

สงครามโลกครั้งที่​2​ ในค่ายกักกันเชลยชางอี ของญี่ปุ่นในสิงคโปร์ มีเชลยศึกอังกฤษ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อยู่รวมถึง 10000คน

ชางอีตั้งตระหง่านเหมือนไข่มุกบนตอนปลายสุดทางตะวันออกของสิงคโปร์เปล่งประกายระยิบระยับวาววับวามใต้แอ่งลึกของดินฟ้าอากาศเขตร้อน บริเวณโดยรอบเป็นสวนผักเขียวขจีเปิดเป็นทางไปสู่ทะเลน้ำเงินครามเขียว และความไกลไม่สิ้นสุดของขอบฟ้า….

แต่ชางอีสูญกลับสิ้นสูญความงามและกลับกลายเป็นที่คุมขังอันน่ากลัวสกปรกชวนขยะแขยงโอบล้อมด้วยกำแพงสูง กับเหล่านักโทษสงครามและพวกก่ออาชญากรรม​ พวกเขายังมีชีวิตอยู่ในนรกแห่งนี้ ไม่ว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะทารุณพวกเชลยอย่างโหดเหี้ยมขนาดไหน แต่พวกมันกับกลัวเจ้าพ่อคุก ที่ชื่อ “คิง” มากกว่าเพราะมันคือคนนี้พวกญี่ปุ่นยังเกรง

“คิง” เป็นใคร?

สำคัญขนาดไหน?

ที่ซึ่งนรกแห่งนี้มีทั้งความรักความแค้นและการทรยศหักหลังเฉือดเฉือนกัน จนกว่าจะถึงวันนั้น วันที่จะตายหรือวันที่จะพบกับอิสรภาพแบบยังมีลมหายใจหรือสิ้นลม…!!!

 

3.เรื่อง : ฆ่าม็อกกิ้งเบิร์ด To KILL MOCKINGBIRD

ผู้เขียน : ฮาเปอร์ ลี HARPER LEE

แปล : นาลัน คุปต์

สำนักพิมพ์ : แพรวสำนักพิมพ์

 

ฆ่าม็อกกิ้งเบิร์ด วรรณกรรมเพื่อมนุษยชาติที่พิชิตรางวัลพูลิตเซอร์​  “ยิงนกบลูเจย์ได้ตามใจเลย ถ้ายิงมันถูกได้ แต่จำไว้ว่ามันเป็นบาปหากจะฆ่านกม็อกกิ้งเบิร์ด” เป็นคำเปรียบเปรยเพราะนกบลูเจย์ชอบโขมยพืชอาหารของคนแต่นกม็อกกิ้งเบิร์ดมอบแต่เสียงร้องไพเราะให้ฟัง…!!!

ว่าด้วยเรื่องช่วงปี ค.ศ.1930 ในชนบทแห่งหนึ่ง ของรัฐแอละบามา “แอตติคัส ฟินซ์” ทนายความที่ว่าความให้ชายผิวดำ ซึ่งถูกกล่าวหาในคดีข่มขืนสาวผิวขาว โดยดำเนินเรื่องผ่านสายตาเด็กหญิงอายุยังไม่ 9ขวบดีที่ชื่อ “จีน หลุยส์​ ฟินซ์” สะท้อนถึงอคติที่คนผิวขาวมีต่อคนผิวดำ คนดำไม่สามารถตอบโต้อะไรได้ นอกจากก้มหน้าให้พวกเขาตราหน้า และสะท้อนแบบความคิดเหมารวมว่าคนทั้งตระกูลต้องมีนิสัยแบบเดียวกัน…

กฎหมายถ้ากระทำผิด ไม่ว่าเขาจะมีผิวสีใดก็สมควรถูกลงโทษ แต่หากเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ไม่สมควรไปกล่าวหาหรือใส่ร้ายเช่นกัน…!!!

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *