05/07/2024

‘CPHI South East Asia 2024’ โชว์แกร่งอุตสาหกรรมยาไทย ประกาศความพร้อมก้าวสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพของเอเชีย

 

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ จุดพลุสร้างสถิติใหม่สุดยิ่งใหญ่ “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” (CPHI South East Asia 2024) ผลักดันระบบสุขภาพและการแพทย์เพื่อยกระดับมาตรฐานไปสู่ “ฮับอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์” สร้างความมั่นคงทางการยาของประเทศไทยในระยะยาว ระดมบริษัทเครื่องมือแพทย์และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ชั้นนำกว่า 400 บริษัทจาก 50 ประเทศร่วมโชว์ศักยภาพ เปิดไฮไลต์โซนพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ส่องเทรนด์นวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ จีน เกาหลี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา บราซิล สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พร้อมพื้นที่เจรจาธุรกิจ อัปเดตความรู้ด้านวิชาการกว่า 60 หัวข้อ ตั้งเป้าผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 8,000 คนจากทั่วโลก เตรียมคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ตลอด 3 วัน ระหว่างวันที่ 1012 กรกฎาคม 2567 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

 

นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์  และผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้จัดงาน ซีพีเอชไอ เซาธ์ อีสต์ เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยาแห่งเอเชีย เปิดเผยว่า การจัดงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญคือ การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางการยาของประเทศไทย เพื่อช่วยขับเคลื่อนสุขภาพและเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่การเป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมาตรฐานการผลิตยาที่ได้มาตรฐานในระดับสากล และพร้อมแข่งขันในการเป็นผู้ผลิตยาสู่ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งจุดเด่นด้านบริการทางการแพทย์ที่มีข้อได้เปรียบเรื่องราคา การบริการที่ดี ตลอดจนคุณภาพของบุคลากร ส่งผลให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยสามารถยกระดับการให้บริการที่ครบวงจร

โดยการก้าวสู่เมดิคัล ฮับของประเทศไทยต่อจากนี้ จำเป็นต้องอาศัยการส่งเสริมการลงทุนอย่างมีกลยุทธ์ ในส่วนยาชีวภาพยาชีววัตถุที่คล้ายคลึง (BioSimilar) เทคโนโลยีชีวภาพ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ในจำนวนที่เพียงพอต่อการพัฒนาไปสู่เมดิคัล ฮับในอนาคต พร้อมกับให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง เครื่องมือผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ และ จอภาพสำหรับติดตามสัญญาณชีพ เป็นต้น ขณะที่ด้านการผลิตยานั้น ประเทศไทยมีความเป็นผู้นำในการผลิตยาสามัญทั่วไป แต่ยังมีศักยภาพมากพอในการพัฒนาไปสู่การผลิตยาที่มีความซับซ้อนสูง เช่น ยาชีวภาพ

สำหรับภาพรวมประเทศไทยในปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 65%  ของตลาดยาโดยรวม มูลค่าประมาณ 2.25 แสนล้านบาท และมีเพียง 35% เท่านั้นที่เป็นการผลิตยาในไทย ส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมยาสำเร็จรูปหรือขั้นปลายน้ำ หรือเป็นการผลิตยาสามัญ โดยเป็นการผลิตลอกเลียนสูตรยาต้นตำรับหรือยาต้นแบบจากต่างประเทศที่หมดสิทธิบัตรไปแล้ว ซึ่งการยกระดับมาตรฐาน และแสดงผลงานนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” นับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของภาคอุตสาหกรรมยาในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“นวัตกรรมจาก 400 บริษัทฯ ที่เข้าร่วมโชว์ศักยภาพในงานได้แสดงให้ทุกคนที่เข้าร่วมงานเห็นถึงศักยภาพของผู้ผลิตยาไทยว่ามีความปลอดภัยสูง และ ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล โดยเชื่อมั่นว่างานซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 จะเป็นคำตอบให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมยา ทั้งการเจรจาธุรกิจ พาวิลเลี่ยนนานาชาติ และสัมมนาหลักสูตรที่สร้างโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยจะนำไปสู่การมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม” นางสาวรุ้งเพชร กล่าว

 

 

ภญ.ลลนา เสตสุบรรณ นายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน เปิดเผยว่า สมาคมฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการยกมาตรฐานของอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทยให้เพียงพอแก่ความต้องการของประเทศ ซึ่งการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” เป็นการให้สมาชิกได้มีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งสามารถสร้างโอกาสในการขยายตลาดใหม่ ๆ จากนักลงทุนที่ให้ความสนใจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

 

ภก.สุรชัย เรืองสุขศิลป์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยาในไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาสูตรผลิตยาโมเลกุลใหม่ๆ ที่ให้ผลการรักษาดี มีความปลอดภัยสูง และกำลังจะหมดสิทธิบัตรลง เพื่อช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยสูงวัย ที่ปัจจุบันมีจำนวนเกิน 14% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และคาดการร์ว่าจะเพิ่มเป็น 28% ในอีก 6 ปีข้างหน้า ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ยาโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อ (Non communicable diseases – NCDs) เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เป็นเมดิคัล ฮัล (Medical Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต ซึ่งการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” เป็นหนึ่งในการนำเสนอศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนายา โดยเตรียมนำผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดคือ Apixaban 2.5mg และ Apixaban 5 mg ที่เป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดในระบบไหลเวียน โดยเฉพาะที่หลอดเลือดสมอง โดยเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่สามารถผลิตยาชนิดนี้ขึ้นเองภายในประเทศ

 

 

ภญ.ปาริชาติ แคล้วปลอดทุกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ภาพรวมในประเทศไทยผลิตยาใช้เองค่อนข้างน้อย ในขณะที่ผู้ผลิตยาภายในประเทศมีการผลิตที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะการผลิตยาส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตหากอุตสาหกรรมยามีการด้านวางแผนด้านความมั่นคงทางการยาได้ดีจะส่งผลให้พึ่งพิงการนำเข้าลดลง และเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้นด้วยวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่ม Biopharmaceutical

สำหรับกิจกรรมไฮไลต์ที่จะเกิดขึ้นในงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” งานเดียวที่มีครบทุกมิติของการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ประกอบด้วย พร้อมการจัดแสดงนวัตกรรมล่าสุดในการผลิตยาจากทั่วโลก และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ การอัปเดตความรู้ภาคธุรกิจและวิชาการทางการแพทย์ โดยตลอดทั้ง 3 วันของการจัดงานจะได้พบกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ล่าสุด รวมถึงพื้นที่สำหรับการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม งานนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ได้ว่า ยาไทยมีคุณภาพสูง และสามารถสร้างความมั่นคงทางการยาให้กับประเทศในระยะยาว

โดยผู้เข้าชมงานมีทั้งนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องจักร ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์เภสัชกรฝ่ายผลิต รวมถึงผู้ประกอบการยาไทยที่เตรียมแผนสร้างโอกาสทางธุรกิจ และขยายฐานลูกค้าใหม่ ทั้งในประเทศไทย และอีก 21 ประเทศทั่วโลก เช่น กัมพูชา จีน พม่า มาเลเซีย ลาว เวียดนาม ฮ่องกง เป็นต้น  ซึ่งงานนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ได้ว่า ยาไทยมีคุณภาพสูง และสามารถสร้างความมั่นคงทางการยาให้กับประเทศในระยะยาว

นอกจากนี้ อีกไฮไลต์ที่สำคัญของงานก็คือ การจัดประชุมวิชาการเพื่อการเรียนรู้จากบริษัทเครื่องมือแพทย์และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ชั้นนำ รวมทั้งโอกาสในการพบผู้จัดแสดงมากกว่า 400 บริษัท จาก 50 ประเทศ รวมถึงพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ซึ่งมีบริษัทชั้นนำจากประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ จีน เกาหลี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา บราซิล สิงคโปร์และอินโดนีเซียเข้าร่วมกันสร้างปรากฎการณ์ในปีนี้

ร่วมกันขับเคลื่อนไทยอุตสาหกรรมยาของไทย ในงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024” (CPHI South East Asia 2024) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นในวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงาน ลงทะเบียนได้ที่ www.cphi.com/sea

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *