21/05/2024

ส่องแนวคิด SUSTAINABLE DESIGN การออกแบบที่ยั่งยืนของ TOSTEM ตอกย้ำความใส่ใจสิ่งแวดล้อมในงานสถาปนิก ‘67

 

 “การออกแบบเพื่อความยั่งยืน” หนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการนำพาวงการการออกแบบเพื่อความยั่งยืนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ทั้งการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบสินค้า และการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมรักษ์โลก หรือแม้แต่การออกแบบบูธจัดแสดงสินค้าผ่านงานดีไซน์ที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างแนวทางใหม่ๆ ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง เลือกใช้ทรัพยากรหมุนเวียนหรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ฟังก์ชั่นกับรูปลักษณ์เป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้

 

เช่นเดียวกันกับแบรนด์ทอสเท็ม (TOSTEM)  ภายใต้บริษัท ลิกซิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (LIXIL) ซึ่งในปีนี้ทอสเท็มมุ่งขับเคลื่อนแบรนด์ด้วยแกนหลักสำคัญ คือ การนำนวัตกรรมสู่ตลาดที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “RE-CONNECTING LIVES” หรือ “การทำธุรกิจเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าเดิม” เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจ FRAMING THE FUTURE OF LIVINGพร้อมด้วยวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม 2050 (Net-Zero 2050) มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Net-Zero CO2 emission) และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การออกแบบ และกระบวนการผลิตที่ล่าสุดได้นำเสนอนวัตกรรม อะลูมิเนียมรักษ์สิ่งแวดล้อม “PremiAL R100” ซึ่งผลิตจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% ที่โรงงานทอสเท็มไทย ได้รับการรับรองจากฉลากสิ่งแวดล้อม EcoLeaf และ JIC Quality Assurance Ltd. โดยมีการตรวจสอบกระบวนการผลิตเพื่อให้แน่ใจว่าใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% และไม่มีอะลูมิเนียมใหม่มาเจือปน ซึ่งการใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิลจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 97% เมื่อเทียบกับการถลุงอะลูมิเนียมใหม่

 

 

นอกจากการพัฒนานวัตกรรมใหม่ออกสู่ตลาด ทอสเท็ม ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการขับเคลื่อนแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ซึ่งในงานสถาปนิก’67 ที่ผ่านมา ได้ตอกย้ำในเรื่องการออกแบบที่ยั่งยืนผ่านงานดีไซน์บูธ ด้วยแนวคิด SUSTAINABLE DESIGN โดยองค์ประกอบการออกแบบเริ่มตั้งแต่ส่วนผนังนำเศษแท่งอะลูมิเนียมที่เหลือจากการผลิตมาเรียงต่อกันเป็นผนังกึ่งทึบกึ่งโปร่ง คล้ายกำแพงวัดที่มีบัวยื่นเข้าออก ผ่าแนวกลางผนังสามารถเลื่อนออกเป็นสองส่วน เพื่อเปิดพื้นที่เข้าสู่พื้นที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์ TOSTEM ส่วนของเคาน์เตอร์และผนังพื้นที่ภายใน ใช้เหล็กเป็นโครงสร้างภายใน และใช้วัสดุไม้อัด OSB สำหรับงานพื้น และผนังห้อง แยกส่วนในแต่ละโซนที่ใช้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ และโซนคาเฟ่ด้านใน หลังคาใช้โครงสร้างหลังคาทำจากกระดาษลูกฟูก เสียบเข้าหากันเป็นทั้งโครงรับน้ำหนัก แผ่นหลังคา และฝ้าเพดานในตัวเดียวกันเพื่อให้มีน้ำหนักเบาที่สุด โดยวัสดุที่นำมาใช้ประกอบด้วย  อะลูมิเนียม , กระจก , เหล็ก , ไม้อัด OSB , กระดาษลูกฟูก ซึ่งภายหลังจากการจัดงานได้ถูกนำไปสู่กระบวนการย่อยสลายและรีไซเคิลทั้งหมด อาทิ เศษอะลูมิเนียมที่ถูกนำกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิล 100% ที่โรงงานเป็นต้น ทำให้บูธของทอสเท็มในปีนี้สามารถลดการสร้างขยะได้เกือบ 100% เมื่อเทียบกับการจัดสร้างบูธในปีที่ผ่านมา

 

 

“ทอสเท็ม ได้ทำการออกบูธ และแคมเปญต่างๆ เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายมาโดยตลอด ซึ่งในแต่ละปีในการออกบูธ โจทย์ที่ทาง ทอสเท็ม คำนึงถึงและให้ความสำคัญคือเรื่องการออกแบบเพื่อความยั่งยืน การออกบูธในแต่ละปีได้ทำการสื่อสารให้เห็นถึงงานดีไซน์ – ความคิดสร้างสรรค์กับเทคนิคการก่อสร้าง และความคุ้มค่าในการใช้งานเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้งานวัสดุในการออกแบบบูธ เพื่อลดขยะให้ได้มากที่สุด ทำอย่างไรให้ทุกส่วนถูกหมุนเวียนกลับมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนตกผลึกมาเป็นการใช้โครงสร้างเหล็ก ไม้ กระดาษ และอะลูมิเนียม ซึ่งสามารถถอดประกอบเพื่อย่อยสลาย หรือรีไซเคิลหมุนเวียนนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ เก็บรักษาทำได้ง่าย และสร้างรูปแบบของโครงสร้างบูธครั้งใหม่ที่แตกต่างได้เสมอ”

 

 

นับเป็นการดีไซน์บูธที่สร้างความประทับใจและส่งต่อมุมมองของการออกแบบเพื่อความยั่งยืนตั้งแต่แรกเห็น ให้กับผู้เข้าชมบูธของ ทอสเท็ม ในครั้งนี้ ซึ่งได้กระแสตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้า กลุ่มสถาปนิกนักออกแบบ และกลุ่มคนทั่วไป ที่ทยอยเข้ามาเยี่ยมชมบูธจำนวนกว่า 12,000 คน ตลอดระยะเวลาการจัดงาน หรือเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตอบโจทย์ในเรื่องการออกแบบที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้อย่างจริงจัง โดยผู้ที่สนใจร่วมสัมผัสนวัตกรรมประตูหน้าต่างที่ยั่งยืน สู่ตลาดที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 101 ปี ทอสเท็ม (TOSTEM) สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3D3Ycxz

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *