การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้สินเชื่อ: นวัตกรรมที่จะช่วยให้ SME และธนาคารเติบโตไปด้วยกัน
25 พฤษภาคม 2566 Mambu แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ SaaS ชั้นนำ ร่วมกับ EY เผยถึงผลการรายงานแนวโน้มของอุตสาหกรรมในปัจจุบันและอุปสรรคที่ขัดขวางศักยภาพการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs,) จากผลการรายงานพบว่าบริษัทเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) และ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Big Tech) เล็งเห็นถึงช่องว่างทางการตลาด โดยมีการนำเสนอทางเลือกการให้สินเชื่อที่ยืดหยุ่นแก่ SME ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ในขณะที่ทางธนาคารและสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ไม่ได้ให้ความสนใจในส่วนนี้มากนัก ทำให้ SMEs ขาดการสนับสนุนมานานหลายสิบปี
ปัจจัยความท้าทายสามประการจากรายงาน:
- ผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ทางธนาคารและสถาบันสินเชื่อที่ได้รับจาก SMEs มีผลกำไรน้อยกว่าจากองค์กรหรือผู้ค้าปลีก ดังนั้นสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมจึงไม่ได้ให้บริการแก่ SMEs เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่
- ธนาคารหลายแห่งขาดความเข้าใจในเรื่องของลักษณะที่หลากหลายของ SMEs นอกจากนี้ ธนาคารส่วนใหญ่ที่ไม่มีแผนก SME จะไม่สามารถให้บริการกลุ่มลูกค้า SME ได้อย่างเหมาะสม
- ธุรกิจ SMEs มีอัตราการผิดนัดชำระที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่ ธนาคารอาจไม่วางใจที่จะปล่อยสินเชื่อกู้ยืมหรือเสนอบริการที่เหมาะสมแก่ธุรกิจ SMEs เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถชำระเงินกู้คืนได้
แม้ว่าธุรกิจ SMEs จะไม่ได้รับการบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม หรือช่วยธุรกิจให้เติบโต แต่ผู้ประกอบการจากธุรกิจขนาดเล็ก – กลางเหล่านี้ ยังไว้วางใจธนาคารแบบดั้งเดิมมากกว่า Fintech หรือ Big Tech โดยอ้างอิงจากรายงานของ EY Survey ที่ระบุว่า ธุรกิจ SMEs ไว้วางใจสถาบันการเงินดั้งเดิมอยู่ที่ร้อยล่ะ 72 ในขณะที่อัตราความไว้วางใจต่อ Fintech และ Big Tech อยู่ที่ร้อยล่ะ 64 และ 62 ตามลำดับผลการรายงานยังให้คำแนะนำทิ้งท้ายว่า ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ควรนำเสนอบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ ด้วยบริการที่ยืดหยุ่นและตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง
คุณ David Brady ผู้อำนวยการฝ่ายขายของ Mambu ประเทศไทย กล่าวว่า “ธุรกิจ SMEs ไม่สามารถบริการที่ตอบโจทย์ได้อีกต่อไป เนื่องจากพวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยความไว้วางใจที่โดดเด่นที่ธนาคารได้รับจากกลุ่ม SME จึงมีโอกาสให้ธนาคารได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกับลูกค้ากลุ่ม SMEs โดยคำนึงถึงความต้องการทางการเงินเฉพาะของกลุ่มนี้ รวมถึงนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ปรับให้เข้ากับลูกค้า SME ธนาคารควรนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในการดำเนินงาน และเพิ่มทางเลือกของผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มลูกค้าที่สำคัญนี้”
ต้องยอมรับว่าในท้องตลาดยังคงมีช่องว่างให้ธนาคารเข้ามาเติมเต็มด้านการบริการในกลุ่ม SMEs เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน โดยรวมการดำเนินงานเข้ากับเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่ ซึ่งเป็นวิธีเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และนำไปสู่ช่องทางทำกำไร ผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการกู้ยืมสำหรับกลุ่ม SME หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยขยายขอบเขตการให้บริการของธนาคาร สามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์นี้