09/05/2024

รง.แปรรูปเนื้อไก่โคราชของ CPF ได้รับรองจากอบก.ช่วยลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก โครงการไบโอแก๊ส โซลาร์ รูฟท็อป และรักษ์ลำน้ำมูล

โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support  Scheme : LESS) รวม 3 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบบำบัดไบโอแก๊ส (Biogas), โครงการ Solar rooftop และโครงการรักษ์ลำน้ำมูล สามารถลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ รวม 34,633.542 ตันคาร์บอนไดออกไซ์เทียบเท่า
นายภาณุวัตร เนียมเปรม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า  ภายใต้กลยุทธ์และเป้าหมายความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals :  SDGs ) ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ  การมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิต   โดย ที่ผ่านมา ทางโรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชของซีพีเอฟ  ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support  Scheme : LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากอบก. สามารถลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ รวม 34,633.542 ตันคาร์บอนไดออกไซ์เทียบเท่า จาก 3 โครงการ ได้แก่  โครงการระบบบำบัดไบโอแก๊ส (Biogas), โครงการ Solar rooftop และโครงการรักษ์ลำน้ำมูล
นายภาณุวัตร เนียมเปรม
สำหรับโครงการระบบบำบัด Biogas เป็นการผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ทดแทนการใช้น้ำมันเตาใน Boiler  ซึ่งสามารถลดต้นทุนด้านพลังงาน และได้รับการประเมินจากอบก.ว่า สามารถลดก๊าซเรือนกระจก   33,702 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  ส่วนโครงการ Solar rooftop  นำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า  ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า และได้รับการประเมินจากอบก.ว่าสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้  762.747 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้  ยังได้เตรียมขยายผลแนวทางการพัฒนาโครงการในอนาคต ด้วยการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ บริเวณบ่อน้ำดิบของโรงงาน หรือ  Solar Floating อีกด้วย
นอกจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว โรงงานฯตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศในพื้นที่ป่า จึงได้ทำโครงการรักษ์น้ำมูล ร่วมดูแลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานแห่งที่ 15  หาดจอมทอง โดยมีเป้าหมาย ปี  2565 ปลูกต้นไม้เพื่อซ่อมแซมและเพิ่มเติม  1,500 ต้น และมีเป้าหมายระยะยาว (ปี 2558- 2573) เพิ่มพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ฯ บนพื้นที่ 100 ไร่  ซึ่งจากการที่ได้ติดตามและดำเนินการวัดต้นไม้บริเวณพื้นที่ปลูก ตั้งแต่ปี  2558 จนถึงปัจจุบัน รวม  20 ไร่  วัดจำนวนต้นไม้  724 ต้น อาทิ ต้นสัก ต้นสะเดา ต้นพะยูง ต้องมะค่า ฯลฯ  มีปริมาณก๊าซเรือนเรือนกระจกที่ลดและกักเก็บได้ 168.405 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ทั้งนี้  ซีพีเอฟ มุ่งมั่นขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจสู่เป้าหมายเป็นองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero)  โดยมีการดำเนินการใน 2 ส่วน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ประกอบด้วย แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน  เพิ่มโอกาสทางธุรกิจจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และสร้างโรงงานและฟาร์มแห่งอนาคต และอีกส่วนหนึ่ง คือ การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Removal) ได้แก่ การสนับสนุนการยุติการตัดไม้ทำลายป่า และ การฟื้นฟูและปลูกต้นไม้  นอกจากนี้  บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support  Scheme : LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  ./

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *