16/04/2024

ไวรัส – วายร้าย

โดย ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล

ผู้เชียวชาญพิเศษ สายงานวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

(200615) — BEIJING, June 15, 2020 (Xinhua) — A medical worker collects throat swab of a resident at a sampling site in Fengtai District of Beijing, capital of China, June 15, 2020. Beijing on Sunday conducted nucleic acid tests on 76,499 people, with 59 testing positive for COVID-19, according to a press conference held Monday. As of 6 a.m. Monday, 193 sampling sites had been set up across Beijing to facilitate nucleic acid testings, said Gao Xiaojun, spokesperson for the municipal health commission. (Xinhua/Li Xin)

จีนเป็นประเทศแรกของโลกที่มีการค้นพบผู้ติดเชื้อรายแรก ณ เมืองอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย์ ทำให้มีผู้ติดโรคเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่เป็นจำนวนมาก ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน 2563 ระบุว่ามีจำนวนผู้ป่วยสะสมในประเทศจีน 81,708 คน มีอัตราการเสียชีวิต  3,331 คน (คิดเป็นร้อยละ 4.1 ) รักษาหาย  77,078 คน (คิดเป็นร้อยละ 94.3) ถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการรักษาหายสูงที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศแรกที่สามารถควบคุมการติดเชื้อรายใหม่ได้สำเร็จ ระหว่างช่วงที่จีนพ้นวิกฤต ได้ส่งความช่วยเหลือ ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพร่ระบาด อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค ชุดตรวจเชื้อโควิด หน้ากากอนามัย และความช่วยเหลือต่าง ๆ ให้หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จีนจึงก้าวขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาของโรคด้านการบริหารจัดการวิกฤตภัยขั้นรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของภาคเอกชนที่เดินเคียงข้างรัฐบาลในยามวิกฤต ทำให้หลายประเทศต่างยกย่องและอยากเจริญรอยตาม

จีนยังเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้สูงถึง 74,588 คน คิดเป็นอัตราส่วน ร้อยละ 91.70 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่มีอัตราร้อยละ 6.78 ขณะเดียวกันกลับพบว่าประเทศพัฒนาแล้ว มีอัตราการรักษาหายต่ำมาก เช่น สหรัฐอเมริกาสามารถรักษาหายเพียงร้อยละ 2.18 อิตาลี ร้อยละ 12.86 สเปนร้อยละ 12.14 เยอรมัน ร้อยละ 12.91 เป็นต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563) ส่วนอัตราการเสียชีวิต มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งโลก 30,451 คน ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2563 (Max Roser, Hannah Ritchie and Esteban Ortiz-Ospina, 2020) โดยประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดได้แก่ อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส และอิหร่าน ตามลำดับ โดยอัตราการเสียชีวิตของประเทศดังกล่าวเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงวันที่ 20-30 มีนาคม 2563 ในขณะที่ประเทศในซึกโลกตะวันออกอย่างจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น มีอัตราการเสียชีวิตลดลง

          ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสื่อ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อสังคมออนไลน์ ถึงบทบาท เทคโนโลยี และความร่วมมือของภาคเอกชน ในมิติต่างๆ ประกอบด้วย 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1) การขนส่งโลจิสติกส์ (Logistics and Transportation) มีจำนวนบริษัทเอกชนจำนวนมากออกมาให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และพยุงระบบโล  จิสติกส์ของประเทศให้ก้าวต่อไปได้ ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือสามารถรักษากลไกของตลาดให้เดินต่อไปได้ในวันที่ทั่วโลกต่างเผชิญวิกฤต 2) บริการทางการแพทย์ (Medical Services) ซึ่งถือเป็นบทบาทสำคัญที่ภาคเอกชนจีนได้มอบให้แก่รัฐบาล รวมถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย องค์ความรู้ด้านการรักษา อุปกรณ์การแพทย์ที่มีคุณภาพ รวมถึงบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ จึงเป็นบทพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดและปราศจากเงื่อนไขว่า ระบบสาธารณะสุขของจีนไม่เป็นสองรองประเทศใด 3) บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ในช่วงเวลาวิกฤต สิ่งที่คนขาดไม่ได้ก็คือการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง แม่นยำ ทันท่วงที ซึ่งปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในจีนชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดวิกฤตภัย สื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญและเป็นแขนขาให้แก่รัฐบาลในการเข้าถึงผู้คน และสุดท้ายที่สำคัญที่สุด 4) ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) ถือได้ว่าเป็นสมอง หัวใจ แขนขา และเป็นทุกอย่าง ในยามวิกฤตโรคระบาดเช่นนี้ ในภาวะที่ผู้คนต่างเลี่ยงในการสัมผัสติดต่อกัน หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ผู้มีสมองว่องไว ก้าวขึ้นมาเป็นฮีโร่ ในการนำพาประเทศจีนก้าวพ้นจุดวิกฤตไปได้

ด้วยความพยายามอย่างสุดความสามารถของรัฐบาล นำโดยประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ที่ได้เร่งรัดออกมาตรการเข้มงวดอย่างทันทีทันใด ด้วยการปิดเมืองอู่ฮั่น และประกาศให้ประชาชนกักตัวอยู่ในบ้าน และห้ามไม่ให้เดินทางในประเทศเพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงได้รวบรวมสรรพกำลังในการรวบรวมบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เขี่ยวชาญการแพร่ระบาด ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในอู่ฮั่น รวมถึงได้สร้างโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่เพื่อเตรียมพร้อมรับมือผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ผลที่เกิดขึ้นทำให้จีนสามารถควบคุมอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อได้อย่างสำเร็จ โดยมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง และจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็น 0 ช่วงปลายเดือนมีนาคม

          จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้หลายประเทศให้ความสนใจกับแนวทางการควบคุมสถานการณ์ในประเทศจีน รวมถึงมาตรการต่าง ๆที่จีนได้ประกาศใช้ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา และแนวทางการรักษาที่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพของประเทศจีน ในฐานะที่จีนเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้สำเร็จ หนึ่งในมาตรการที่จีนได้ประกาศใช้เป็นประเทศแรกได้แก่ “มาตรการการรักษาระยะห่างทางสังคม” (Social distancing) การบังคับตรวจอุณหภูมิการเพิ่มจำนวนการตรวจเชื้อ การสั่งปิดโรงเรียน สถานประกอบการณ์เพื่อลดการแพร่ระบาด มาตรการกักกันตัวเอง การห้ามเดินทางระหว่างประเทศ การส่งห้ามเดินทางภายในประเทศ รวมไปถึงมาตรการขั้นเด็ดขาด “การสั่งปิดเมือง” ฯ

นอกจากมาตรการเข้มงวดของรัฐบาล ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลไกสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จีนสามารถควบคุมสถานการณ์วิกฤตโควิดได้คือ “ภาคเอกชนจีน” ที่ได้ออกมาร่วมช่วยเหลือรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคทุนทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันโควิด รวมถึงการงัดเทคโนโลยีล้ำสมัยออกมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น บิ๊กเดต้า (Big data) อากาศยานไร้คนขับ (Drone) หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น ด้วยประสิทธิภาพและความล้ำสมัยของเทคโนโลยีจีน จึงทำให้หลายประเทศยอมรับว่าจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก บทบาทภาคเอกชนจีนชี้ให้เห็นความร่วมมือที่สำคัญที่เป็นบทเรียนแก่โลกว่า เมื่อเกิดวิกฤตภัย ไม่ว่าจะเป็นภัยทางธรรมชาติ ภัยทางเศรษฐกิจ หรือภัยพิบัติจากโรคติดต่อร้ายแรง ทุกๆ ภัยพิบัติจะแบ่งโลกออกเป็น 2 ช่วงเวลาเสมอ ได้แก่ 1) ก่อนเกิดวิกฤต ที่โลกต่างมุ่งเน้นแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่พลเมืองของตน และ 2) ช่วงหลังวิกฤต ซึ่งจะเป็นช่วงที่โลกทั้งใบได้หยุดคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองสิ่งที่เกิดขึ้น และหันมาช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างไม่มีเงื่อนไข ในฐานะ “มนุษยชาติ” ผู้ปราศจากซึ่งเชื้อชาติ สีผิว และชนชั้นวรรณะ 

ภาพจาก สำนักข่าวซินหัว

(200602) — WUHAN, June 2, 2020 (Xinhua) — A resident takes nucleic acid test at a testing site in Dongxihu District in Wuhan, central China’s Hubei Province, May 15, 2020. TO GO WITH XINHUA HEADLINES OF JUNE 2, 2020 (Xinhua/Xiao Yijiu)
(200312) — SHIJIAZHUANG, March 12, 2020 (Xinhua) — A doctor from Shijiazhuang traditional Chinese medicine (TCM) hospital treats a local resident in Chang’an District of Shijiazhuang City, north China’s Hebei Province on March 12, 2020. A mobile hospital of traditional Chinese medicine provides health services for local residents amid the fight against the COVID-19. (Photo by Liang Zidong/Xinhua)
(200614) — WUHAN, June 14, 2020 (Xinhua) — People read with a distance from each other at the Hubei Provincial Library in Wuhan, capital of central China’s Hubei Province, June 14, 2020. China’s Hubei Province, once hit hard by COVID-19, on Sunday reopened five major public cultural venues in the latest move to return to normalcy after the epidemic tapered off. The venues included the provincial museum, the provincial library, the memorial hall of the Xinhai Revolution, the provincial art museum and the mass art center, all located in the provincial capital Wuhan. All the five facilities require reservations in advance and have placed caps on the daily number of visitors. (Xinhua/Xiao Yijiu)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *