29/03/2024

เตือนเศรษฐกิจไทยปี 66 ยังผันผวน

 

นางสาว จุฑาพร เกตุราทร โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตบางรัก สาทร ปทุมวัน กล่าวว่า  การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวติดลบที่ – 6% ซึ่งเป็นการติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง หลังจากการส่งออกเดือนตุลาคมหดตัวและติดลบไป -4.4%  ซึ่งคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้เตือนไว้ก่อนแล้วว่าเป็นสัญญาณเศรษฐกิจที่ไม่ดี และแนวโน้มจะทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้น่าจะไม่สดใส  ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจจะไม่ขยายตัวได้มากเท่าที่ควร

ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลยอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นจากที่ตกลงมาในปี 2563 ที่ -6.2% เลย เพราะปี 2564 ขยายได้ 1.5% และ ปีที่แล้ว 2565 น่าจะขยายได้เพียง 3 % กว่าเท่านั้น ซึ่งรวมกันแล้วยังไม่เท่าที่ตกลงมา  ดังนั้นการที่จะอ้างว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วจนธนาคารโลกชมน่าจะไม่เป็นความจริงและเข้าใจผิด  เพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในแดนลบมา 3 ปีติดต่อกันแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ลงอีกได้ โดยอยากจะขอเตือน 5 ปัจจัยเสี่ยงดังนี้

1. ปัญหาหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงจากการก่อหนี้ของรัฐบาล  หนี้ครัวเรือนที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรายได้ที่ลดลงของประชาชน  หนี้ธุรกิจที่สืบ                เนื่องมาจากวิกฤติไวรัสโควิด ส่งผลกระทบให้มีหนี้เสียในระบบธนาคาร และ หนี้นอกระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเหมือนระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ หากรัฐบาลไม่สามารถ            จัดการกับเรื่องหนี้เหล่านี้ได้

  1. ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ถาวะถดถอย จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐเพื่อหยุดเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั้งโลก ทั้งเศรษฐกิจของ สหรัฐ ยุโรป จีน และ ญี่ปุ่นก็จะไม่ดี ซึ่งจะทำให้การส่งออก การท่องเที่ยว และ การลงทุนของไทย ลดลงได้
  2. ปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก จากการที่สหรัฐฯขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อหยุดเงินเฟ้อตามที่กล่าวแล้ว โดยคาดกันว่าภายในปีนี้ดอกเบี้ยสหรัฐอาจจะพุ่งทะลุ 5% ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม และจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนอย่างมากสำหรับหนี้ต่างๆที่กล่าวมาแล้ว  นอกจากนี้ยังมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้ค่าบาทแข็งค่าขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกให้ลดลงได้
  3. ปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพง ยังเป็นปัจจัยที่น่ากังวล และต้องจับตาให้ดี เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ ค่าครองชีพของประชาชน
  4. ปัญหาราคาพลังงาน ทั้งราคาน้ำมัน ไฟฟ้า และ ก๊าซ ที่ยังผันผวนสูง โดยคาดกันว่าราคาน้ำมันอาจจะกลับมาขึ้นสูงอีกครั้งได้ จากการที่ประเทศจีนเริ่มเปิดประเทศ ราคาไฟฟ้าที่ยังจะขึ้นอีก รวมถึงปัญหา หากศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าการผลิตไฟฟ้าที่รัฐบาลให้ใบอนุญาตกับเอกชนจนล้นเกิน   จนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.  ต่ำกว่า 51% จะผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากผิดกฎหมายคงต้องมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *